วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปเนื้อหาวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สัปดาห์ที่ 1 และ สัปดาห์ที่ 2

   สรุปเนื้อหาวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา   



โดย :นายราชกัลป์  พรหมอาจ รหัสนักศึกษา      ๕๘๗๒๓๗๑๓๒๐๒      เลขที่  ๒ หมู่ที่  ๒
 ผู้สอน :  อาจารย์ภัทรดร  จั้นวันดี  

สัปดาห์ที่ 1 วันเสาร์ที่ ๘  สิงหาคม พ.. ๒๕๕๘

คำว่าครู  ภาษาอังกฤษคือ "TEACHERS"  โดยมีตัวอักษรทั้งหมด ตัว เกิดจากพยัญชนะ ตัว รวมกับสระ 3 ตัวแต่ละตัวอักษรมีความหมายดังต่อไปนี้ 
T - TEACHING (การสอน)  ครูทำหน้าที่สอนและถ่ายทอดความรู้ รู้จักวิธีการสอน สอนเป็นและสอนดี 
E - ETHICS       (จริยธรรม)  ครูผู้มีคุณธรรมจริยธรรม รักและเมตตาต่อศิษย์ ไม่ลำเอียง
A - ACADEMIC  (วิชาการ)  
ครูที่เป็นนักวิชาการที่มีความรอบรู้ เชี่ยวชาญ และใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เป็นเสมอ
C - CULTURAL HERITAGE (การสืบทอดวัฒนธรรม)  
ครูเป็นผู้รู้คุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ ทั้งยังทำหน้าที่รักษา และถ่ายทอด มรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าวไปสู่คนรุ่นหลัง                  
H - HUMAN RELATIONSHIP (มนุษยสัมพันธ  ครูเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเป็นผู้มีสุขภาพที่ดี
E - EVALUATION (การประเมินผล)   ครูคือผู้รู้และเข้าใจเรื่องการวัดและประเมินผลเป็นอย่างดี เพราะการวัดและประเมินผลนั้น ครูต้องใช้อยู่ตลอดเวลาในกระบวนการเรียนการสอน
R - RESEARCH (การวิจัย)  
ครูคือผู้ค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ และสามารถนำผลวิจัยที่ผู้อื่นทำไว้แล้วไป  ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
S – SERVICE (การบริการ) ครูคือผู้ให้บริการด้านอื่นนอกเหนือจากการสอน
 เช่น บริการแนะแนว บริการด้านสวัสดิการในโรงเรียน รวมถึงการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนอีกด้วย


สัปดาห์ที่ 2  วันเสาร์ที่ ๑๕  สิงหาคม พ.. ๒๕๕๘

นวัตกรรม  หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

เทคโนโลยี  หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ

การเรียนรู้  (Learning)  คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ

การสอน  คือ การถ่ายทอดความรู้ออกไปโดยการบอก อธิบายขยายความให้เข้าใจ เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่คาดหวัง

การสื่อสาร  มีทั้งแบบทางเดียว (One way) และสองทาง (Two way) องค์แระกอบที่เกี่ยวข้องคือ ผู้ส่งสาร,ผู้รับสาร,สาร/ช่องทาง,ผู้รับสาร)
                                                                                                  
การเรียนการสอน หมายถึง กิจกรรมที่ผู้สอนและผู้เรียนร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะเจตคติ โดยมีการวางแผนการจัดกิจกรรมเป็นลำดับขั้นตอน
                                                   
Learning Pyramid  (ปิรามิดแห่งการเรียนรู้) แสดงให้เห็นถึงค่าร้อยละจากการจัดกิจกรรมที่ต่างกันแต่ละอย่าง โดยกิจกรรมที่ต่างกันจะทำให้เราจดจำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ต่างกันด้วย
                                           
CAI   คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยให้การเรียนรู้ การกเรียนการสอนมีประสอทธิภาพมากขึ้น
          
Formative  คือ กระบวนการ ขั้นตอน ที่เกิดขึ้น หรือ วิธีการที่ใช้ในระหว่างการจัดการเรียนการสอนเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ หรือ และมีผลคะแนน

Summative  คือ การรวมคะแนนเพื่อวัดผลความสามารถ หรือวัดประเมินผลที่ได้จัดการเรียนการสอนไป

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม  (Bloom  Taxonomy)                                                                                                      เป็นทฤษฎีการเรียนรู้  3 ด้าน คือ พุทธพิสัย  ทักษะพิสัย และจิตพิสัย                                                                          

1. พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) การเรียนรู้ทางด้านความคิด ความรู้การแก้ปัญหา จัดเป็นพฤติกรรมทางด้านสมอง และสติปัญญา                                                                                                                                                     

2. จิตพิสัย (Affective Domain) พฤติกรรมด้านจิตใจ ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง  ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม  พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์

3. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท การเคลื่อนไหว เป็นพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ 


สั่งการบ้านท้ายชั่วโมง  (รายงานหน้าชั้น หรือ ถาม-ตอบ ในห้องเรียน วันเสาร์ที่  ๒๒  สิงหาคม ๒๕๕๘)
ให้นักศึกษาค้นคว้า ทำความเข้าใจในหัวข้อดังนี้
หัวข้อที่ 1  Analysis Model
หัวข้อที่ 2 The Connectivist Learning Model
โดยแบ่งเป็น  2 กลุ่ม  ศึกษาทำความเข้าใจในหัวข้อของตน