วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปเนื้อหาวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สัปดาห์ที่ 12

สรุปเนื้อหาวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

โดย : นายราชกัลป์  พรหมอาจ รหัสนักศึกษา      58723713202    เลขที่  2  หมู่ที่  2
ผู้สอน : อาจารย์ภัทรดร  จั้นวันดี


สัปดาห์ที่ 12  วันเสาร์ที่  24  ตุลาคม  พ.ศ. 2558

อ.ภัทรดร ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานชิ้นที่ 2 หน้าชั้นเรียนเกี่ยวกับการศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนในสถานศึกษาโดยให้นักเรียนลงพื้นที่เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนในสถานศึกษาดังนี้
1.  แบ่งกลุ่มๆละ 6 คน
2.  ให้ศึกษา/สัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร  รองผู้บริหาร  ครูประจำชั้น  หัวหน้าวิชาการ เป็นต้น




กลุ่มของกระผม ตกลงกันแล้วเลือกโรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ ( พินิจพิทยานุสรณ์ ) อ.เมือง จ. นครพนม  สังกัด อปท.  เป็นโรงเรียนที่เลือกศึกษาถึงปัญหาการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่  ทั้งระดับ อนุบาล  ประถม  และมัธยม อีกทั้ง อยู่ในอำเภอเมือง การติดต่อและเดินทางของสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่ม สะดวก  ง่ายต่อการพบปะ พูดคุยกัน



มีการระดมสมอง รว่มกันคิด วางแผนการทำงาน เพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด


•สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เดียวกับสถานศึกษามีแผนการทำงานตามแบบ PDCA  - Plan  Do Check Action เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน






สรุปปัญหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ท่านผู้อำนวยการ ระพีพรรณ  พรหมอาจ ผู้อำนวยการ โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ ( พินิจพิทยานุสรณ์ ) มีดังนี้
1.  บุคลากรจบไม่ตรงกับวิชาเอกที่สอน
2.  ขาดแคลนบุคลากรในการสอน
3.  สื่อและนวัตกรรมยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
4.  จัดการศึกษาหลายระดับทำให้การบริหารจัดการ และปัญหามีมากขึ้น

แนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนสถานศึกษา คือ
1.  จัดส่งครูไปฝึกอบรใ ในหลักสูตรที่ตรงสาย
2.  เปิดรับบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญในเอกที่จบมา มาสอน
3.  จัดสรรงบประมาณในการเบิกซื้อสื่อที่ทันสมัยที่จำเป็นต่อการเรียนรู้

สุดท้ายนี้กลุ่มของกระผมต้องขอกราบขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการ ระพีพรรณ  พรหมอาจ ที่ใจดี มีเมตตา สละเวลาอันมีค่ามาให้คำตอบในการสัมภาษณ์แก่ผมในครั้งนี้ครับ


วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปเนื้อหาวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สัปดาห์ที่ 11

สรุปเนื้อหาวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

โดย : นายราชกัลป์  พรหมอาจ รหัสนักศึกษา      58723713202    เลขที่  2  หมู่ที่  2
ผู้สอน : อาจารย์ภัทรดร  จั้นวันดี


สัปดาห์ที่ 11  วันเสาร์ที่  17  ตุลาคม  พ.ศ. 2558

อ.ภัทรดร  ภาพ และ บรรยากาศการเรียนในห้องเรียน







อ.ภัทรดร  ได้พูดถึงบันได  5  ขั้น



   การเรียนรู้แบบ  IS นั้น  ครูเป็นได้แต่เพียงผู้ชี้แนวทางเท่านั้น


อ.ภัทรดร  ได้พูดถึงการเขียนแผนแบบ 5 E 




อ.ภัทรดร  ได้พูดถึงหลักสูตร มีด้วยกันทั้งหมด 4 หลักสูตร
1. หลักสูตรแกนกลาง  พ.ศ.  2551
2. หลักสูตรสถานศึกษา
3. หลักสูตรท้องถิ่น  
4. หลักสูตรรายบุคคล


อ.ภัทรดร  ได้พูดถึงตัวแปรทางการวิจัยว่ามีอยู่ 4 ตัว คือ



1.  ตัวแปรต้น
2.  ตัวแปรตาม
3.  ตวแปรสอดแทรก  เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
4.  ตัวแปนแทรกซ้อน 


อ.ภัทรดร  ได้พูดถึงทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21




การจัดการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21 ต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด (Child Center) กระบวนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ (Integration) ให้เด็กเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆเข้าด้วยกันได้ และต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ครู “Teach Less” และ“Learn More” ครูต้องไม่สอนมาก แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เกิดทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) จากการเรียนแบบลงมือทำเช่นโครงงาน แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง(Thinking Skills)  การเรียนรู้แบบนี้ เรียกว่า PBL (Project-Based Learning) หรือ ให้เรียนรู้จากปัญหา PBL (Problem-Based Learning) ทั้งยังมีการฝึกการใช้ภาษาสื่อสารและเทคโนโลยีด้วย (Communication and Technology Skills)  ครูต้องเปลี่ยนจาก “Teacher” มาเป็น “Facilitator”  และควรจะผันตัวเองมาเป็น (Coach) หรือ ผู้ชี้แนะ” เพื่อเปลี่ยนวิธีการศึกษา ด้วยการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายจาก “ความรู้ (knowledge) ไปสู่ ทักษะ (skill or practices)”จะทำให้เด็กมีทักษะการใช้ชีวิตและเอาตัวรอดได้ (Life Skills)





อ.ภัทรดร  ได้พูดถึง Coaching and mentoring 



ครูต้องผันตัวเองมาเป็น (Coach) หรือ ผู้ชี้แนะ และเปิดโอกาสให้เด็กถามเมื่อเกิดข้อสงสัย ไม่ใช่สอนอย่างเดียว ให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำโครงงาน PBL = Project Base Learning และทักษะการเรียนรู้ที่เกิดจากปัญหา PBL = Problem  Base  Learning  คือ ศึกษาวิธีการแก้ปัญหา และ เรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ




วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปเนื้อหาวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สัปดาห์ที่ 10

สรุปเนื้อหาวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

โดย : นายราชกัลป์  พรหมอาจ รหัสนักศึกษา      58723713202    เลขที่  2  หมู่ที่  2
ผู้สอน : อาจารย์ภัทรดร  จั้นวันดี


สัปดาห์ที่ 10  วันเสาร์ที่  10  ตุลาคม  พ.ศ. 2558

อ. ภัทรดร ให้แต่ละกลุ่ม  กลุ่มละ 6 คน  จำนวน 5 กลุ่ม  เอางานของกลุ่มตนออกมาติดไว้หน้าชั้นเรียนเพื่อให้สมาชิกทุกคนเห็น แล้วให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนในหัวข้อของตน  ดังต่อไปนี้



1. สื่อ (Media)
2. แหล่งเรียนรู้ หรือ ทรัพยากรการเรียนรู้  (Wisdom or Learning resources)
3.การวัดและประเมินผล  (Measurement and Evaluation)
4.ระบบ  (System)
5. การบูรณาการ (Integration)
กลุ่มของกระผมได้หัวข้อสุดท้าย เรื่อง การบูรณาการ (Integration)

โดยแต่ละกลุ่มได้เขียนสรุปออกมาเป็นดังนี้
1. สื่อ (Media)




2. แหล่งเรียนรู้ หรือ ทรัพยากรการเรียนรู้  (Wisdom or Learning resources)




3.การวัดและประเมินผล  (Measurement and Evaluation)




4.ระบบ  (System)





5. การบูรณาการ (Integration





อ.ภัทรดร  พูดถึง แผนการสอนเป็นนวัตกรรม
1  คู่มือการใช้งานครูผู้สอน ซึ่งต้องมีความแตกต่างกัน
2  คู่มือของผู้เรียน
3 คู่มือของสื่อเอง

แหล่งเรียนรู้ มี หลักๆ 2 แบบ คือ
1.  แหล่งเรียนรู้ภายใน 
2.  แหล่งเรียนรู้ภายนอก

ท้ายชั่วโมง อ.ภัทรดร ได้สั่งงานชิ้นที่ 2 กลุ่มละ 6 คน มีทั้งหมด 5 กลุ่ม 

ให้ไปศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนในสถานศึกษาของตน ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นปัญหาในปัจจุบัน  อาจจะเป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ก็ได้ ลองมองดูจากภายนอกว่าเห็นปัญหาอะไรบ้างในโรงเรียนที่ตัวเองอยู่  ให้ discuss ในกลุ่ม  แล้วหยิบมาเป็น case study  มีการสอบถาม พูดคุยกับฝ่ายบริหารหรือครูในโรงเรียนด้วย

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปเนื้อหาวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สัปดาห์ที่ 9

สรุปเนื้อหาวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

โดย : นายราชกัลป์  พรหมอาจ รหัสนักศึกษา      58723713202    เลขที่  2  หมู่ที่  2
ผู้สอน : อาจารย์ภัทรดร  จั้นวันดี


สัปดาห์ที่ 9  วันเสาร์ที่  3  ตุลาคม  พ.ศ. 2558

อ. ภัทรดร ให้แบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ 6 คน  ได้จำนวน 5 กลุ่ม  แล้วแจกกระดาษให้แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิด เขียนลงไปในกระดาษตามหัวข้อที่ตนได้ ดังต่อไปนี้

1. สื่อ (Media)
2. แหล่งเรียนรู้ หรือ ทรัพยากรการเรียนรู้  (Wisdom or Learning resources)
3.การวัดและประเมินผล  (Measurement and Evaluation)
4.ระบบ  (System)
5. การบูรณาการ (Integration)

กลุ่มของกระผมได้หัวข้อสุดท้าย เรื่อง การบูรณาการ (Integration) เมื่อเขียนเสร็จแล้วเตรียมนำเสนอหน้าชั้นเรียนในวันเสาร์ ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558  (สัปดาห์ที่ 10)